NZ UNIVERSITIES RANKING & RATING

NEW ZEALAND UNIVERSITIES RANKING & RATING

มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ ใช้ลำดับ International Ranking ของ QS World, THE World และ ARWU World ซึ่งข้อมูลจะประกาศในช่วงไตรมาสแรกของทุกปีปฏิทิน

โดยทั่วไปเวลาพูดถึงอันดับมหาวิทยาลัย เราจะยึดของ QS World เป็นหลัก เนื่องจากเป็น Ranking Indicator ที่ได้รับความนิยมและได้รับการอ้างอิงถึงมากที่สุดในโลก 

มหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ทุกแห่ง ได้ Ranking ติดอันดับ Top 1-3% ของโลกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งล่าสุดโดย QS World  ซึ่งมีมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกถูกเลือกมาจัดอันดับ 1,186 แห่ง จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกประมาณ 16,000+ แห่ง  

ซึ่งการจะมีชื่อปรากฎใน 1,186 อันดับนี้ก็ไม่ง่าย เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในโลกนี้อีกประมาณ 15,000 แห่งที่เหลือไม่ได้รับการจัดอันดับใดๆ และหากไปค้นในระบบก็จะไม่เจอว่ามีชื่อมหาวิทยาลัยดังกล่าวใน QS ranking  ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่มีมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ แต่ชื่อเสียงและอื่นๆ ไม่เพียงพอจะจัดอันดับ 

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือประเทศไทยซึ่งมีมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่ง แต่มีเพียง 10 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับโดย QS


How is the New Zealand University sector doing when compared to the World Leading Universities?

Ranking ของมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ หากดูผ่านๆอาจเห็นว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของโลกในยุโรปหรืออเมริกาที่ก่อตั้งมาเป็นร้อยปีหรือกว่าสองร้อยปีหรือเกินกว่านั้น 

  • มหาวิทยาลัย Oxford ก่อตั้งเมื่อ 925 ปีก่อน ในปี ค.ศ. 1096 
  • มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อายุ 812 ปี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1209
  • มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อตั้งปี ค.ศ.1636 ปีนี้จึงมีอายุเกือบ 400 ปี 

แต่นิวซีแลนด์เป็นประเทศเกิดใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกต่อให้เก่าแก่อย่างไรก็เพิ่งจะก่อตั้งเมื่อ 150 กว่าปีก่อน และมหาวิทยาลัยน้องใหม่สุดคือ AUT เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2000 และจึงมีอายุเพียง 20 ปีเศษๆ เท่านั้น  

หากอ่าน Rating Description จะเห็นว่าโดยทั่วไปมหาวิทยาลัยที่มีอายุไม่ถึง 20 ปีส่วนใหญ่จะได้ QS Stars Rating อยู่ที่ 1 ดาวเท่านั้น! 

และนี่จึงแปลได้ว่าแม้แต่มหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่สุดอย่าง AUT ก็มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดเกินมาตรฐานเป็นอย่างมาก จนเพียงในปีที่ 20 หลังจากก่อตั้ง สามารถคว้า QS Rating มาตรฐานสูงสุดอย่าง 5 Stars Plus มาครอง และก้าวเข้าสู่อันดับโลกที่มีอันดับต่ำกว่า 500  เคียงบ่าเคียงไหล่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เปิดมาแล้วเป็นร้อยๆ ปีได้เป็นผลสำเร็จ 

 

ในส่วนของ Rating

  • มหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ได้รับการประเมิน Rating ว่าเป็นมหาวิทยาลัย "ระดับโลก" ถึง 7 แห่ง จาก 8 มหาวิทยาลัย 
  • โดยคว้าเรตติ้งสูงสุด QS 5 Stars Plus มาได้ถึง 4 แห่ง (UOA, OU, VUW และ MU)
  • และมี 3 มหาวิทยาลัย ได้รับการประเมินคุณภาพจาก QS ว่ามีคุณภาพ "ยอดเยี่ยม" - 5 Stars (UC, LU, AUT)
  • รวมเป็น 7 จาก 8 มหาวิทยาลัย ที่ได้เรตติ้ง 5 Stars หรือ 5 Stars Plus 
 
 

RANKING

จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลก 16,000+ แห่ง QS คัดมาจัดอันดับ 1,186 แห่ง ผลปรากฎว่ามหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์อยู่ใน อันดับ 81 - 437 ของโลก  

Within Top 1% ของโลก - University of Auckland และ University of Otago
Within Top 2% ของโลก - Victoria University of Wellington, University of Canterbury, Massey University
Within Top 3% ของโลก - University of Waikato, Lincoln University, Auckland University of Technology

 

      
 

 วิเคราะห์อันดับ Ranking ที่มหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ได้มาในปี 2021

 U of Auckland (#81) อยู่ในอันดับเทียบเท่า Georgia Tech อันโด่งดังของอเมริกา (Georgia Institute of Technology, Atlanta USA #80) โดยมีคะแนนเฉือนกันอยู่เพียง 0.1 (AKL 64.0 VS GIT 64.1) และได้อันดับ ดีกว่า U of Illinois Urbana-Champaign (#82) และ ซอร์บอร์น ปารีส (Sorbonne University France #83) รวมทั้ง ม. เดอร์แรม อังกฤษ (Durham University UK #86) 

 U of Otago (#184) อยู่ในอันดับถัดลงมาจาก U of Liverpool (UK# 181) และได้อันดับดีกว่า Vanderbilt (USA #187) Wollongong (Australia #196), Reading (UK #205) จุฬา (ไทย #208), Macquarie (Australia #214), Curtin (Australia #217) 

 VUW Wellington (#223) แชร์อันดับร่วมกับ RMIT (Australia #223)  และได้อันดับดีกว่า Georgetown (Washington D.C. #230), U of Leicester (UK #242), U of Sussex (UK #246), มหิดล (ไทย #252), Tufts (USA #260), Surrey (UK # 267) 

 U of Canterbury (#270) แชร์อันดับร่วมกับ U of Massachusetts Amherst (USA) ส่วน Massey University ได้อันดับ #272  (จริงๆ ควรจะเป็น #271 แต่เพราะ #270 มีสองอันดับเลยได้ 272)  ทั้งสองมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์คู่นี้ได้อันดับดีกว่า Deakin University (Geelong, Australia#275), Griffith (Australia #303), Tasmania (Australia #308), Goethe-Frankfrut am Main (Germany #311), Simon Fraser (Canada #323), Swinburne (Australia #372), Kent (UK #380), Oxford Brookes (UK #383)

 U of Waikato (#375) และ Lincoln U. (#387) ได้อันดับร่วมกับ Shanghai University (China #387), Taipei Medical University (Taiwan, #387), Tianjin University (China #387) และได้อันดับ ดีกว่า La Trobe (Australia #398), Colorado Denver (USA #398), Kobe (Japan #403), Essex (UK#411), Washington State (USA #411), Xiemen University (China #432)
 

AUT Auckland University of Technology #437 ได้ QS 5-Stars Rating และได้อันดับ ดีกว่า U of Canberra (Australia #456), Swansea (UK #474), Chiba (Japan #488), Oregon State Uni (USA #499), Coventry (UK #541-550), ธรรมศาสตร์ (ไทย #561-570), Murdoch (Australia #571-580), เชียงใหม่ (ไทย #601-650)  

 ข้อสังเกต
 สำหรับการจัด Ranking นิวซีแลนด์อาจได้สูงกว่านี้ไม่มากนักไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องเพราะเกณฑ์การจัด Ranking นั้น พิจารณาจาก 5 ประเด็นต่อไปนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ค่อนข้าง 'Subjective' (คะแนน 50% มาจากข้อ A กับ B ซึ่งจะได้สูงหรือต่ำขึ้นกับว่าไปสัมภาษณ์ใคร หรือคนที่ตอบแบบประเมินมีประสบการณ์ตรงกับมหาวิทยาลัยแค่ไหน) 

Subjective: The definition of subjective is something that is based on personal opinion. An example of subjective is someone believing purple is the best color (or, in this case, Harvard is the best university). 

 

เกณฑ์การจัด Ranking ของ QS 

  1. Academic Reputation (40%) ชื่อเสียงทางวิชาการของมหาวิทยาลัย (สัมภาษณ์คนในวงการการศึกษาระดับอุดมศึกษา 100,000 คน ว่าคิดว่ามหาวิทยาลัยไหนมีคุณภาพการเรียนการสอนและงานวิจัยที่มีคุณภาพที่สุด
  2. Employer Reputation  (10%) ความนิยมของผู้จ้างงาน (ถาม HR 50,000 คน ว่าชอบบัณฑิตจากจากมหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด)
  3. Faculty/Student Ratio (20%) ดูสัดส่วนของอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษา 
  4. Citations per faculty  (20%)  ดู "จำนวน" และ "คุณภาพ" ของงานวิจัย (Research output and quality) ของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาจากทุกงานวิจัยย้อนหลัง 5-6 ปีนับจากวันที่ตรวจวัด คือดูว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีการนำไปใช้อ้างอิงมากน้อยแค่ไหน  
  5. International Faculty/International Students Ratio  5% each ดูความเป็น "อินเตอร์" ของมหาวิทยาลัย โดยยึดหลักว่ามหาวิทยาลัยที่ดีจะ "ดึงดูด" นักศึกษาจากทั่วโลกมาเรียน และดูว่ามหาวิทยาลัย "ลงทุน" กับการจ้างบุคลากรดูแลนักศึกษาต่างชาติเหล่านี้เป็นสัดส่วนที่มากน้อยขนาดไหนเมื่อเทียบกับจำนวน นศ อินเตอร์ที่รับเข้ามาเรียน

จะเห็นว่าไม่มีตรงไหนพูดถึง "บรรยากาศของมหาวิทยาลัย" หรือ Facilities ภายในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ "วุฒิของอาจารย์" 

ดังนั้น QS จึงจัดให้มีการวัด 'Rating' เพื่อจะกำจัดจุดอ่อนในส่วนที่ Ranking ไม่ครอบคลุม และเพื่อเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้ใช้ประเด็นอื่นนอกจากงานวิจัยหรือ Citation เป็นเกณฑ์วัดมาตรฐาน เนื่องจากมหาวิทยาลัยใหญ่ทุนหนาย่อมมีทรัพยากรมากกว่าในการ funding งานวิจัย (Ranking Criteria D.)

ซึ่ง Rating จะพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้  โดยข้อ 1-5 จะคล้ายกับ Ranking แต่ในมุมมองของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามคนละกลุ่มและให้มหาวิทยาลัยมีโอกาส present ผลงาน

 

เกณฑ์การจัด Rating ของ QS 

  1. Research ดูมาตรฐาน คุณภาพและปริมาณของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งนั้นว่ามีการนำไปใช้อ้างอิงมากน้อยแค่ไหน ดูว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคยได้รางวัลอะไรหรือไม่ 
  2. Teaching ประเมินคุณภาพของการเรียนการสอน โดยการออกแบบสอบถามไปยังนักศึกษา ดูอัตราการเรียนต่อ และสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 
  3. Academic Development ดูว่ามหาวิทยาลัยมีความพยายามมากแค่ไหนในการเสริมความรู้ให้กับนักศึกษานอกเวลาเรียน ศูนย์ข้อมูลการเรียนรู้ การให้นักศึกษามีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนและเป็นผู้ช่วยงานวิจัย 
  4. Employability  นอกเหนือจากวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัยทำอะไรบ้างเพื่อให้นักศึกษาจบไปเป็นบัณฑิตที่ "พร้อมทำงาน" ในสภาพแวดล้อมหลากหลายวัฒนธรรม
  5. Internalization ความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ จำนวนนักเรียนแลกเปลี่ยนทั้งขารับและขาส่ง จำนวนนักเรียนต่างชาติและความหลากหลายทางเชื้อชาติ
  6. Facilities สิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก อุปกรณ์ไอที ห้องสมุด ยิม ประเภทกีฬาและชมรม สถานที่+อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ 
  7. Online & Distance Learning ความเอาจริงเอาจังในการจัดให้มีการเรียนแบบทางไกล และเทคโนโลยีสำหรับการเรียนทางไกล ผลสัมฤทธิ์ที่จับต้องได้และเป็นรูปธรรม
  8. Social Responsibility การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในกิจกรรมชุมชน การ "คืนกลับสู่สังคม" ผ่านโครงการปันความรู้ การบรรเทาสาธารณภัย การระดมเงินทุนเพื่อโครงการไม่หวังผลกำไร การมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม 
  9. Innovation การสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  10. Arts and Culture จำนวนและประเภทอีเว้นท์ที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัด (คอนเสิร์ต, นิทรรศการ) รางวัลเชิงวัฒนธรรมที่มหาวิทยาลัยได้รับ และการลงทุนทางศิลปวัฒนธรรม
  11. Inclusiveness การเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ด้อยโอกาสหรือมีข้อจำกัดต่างๆ สามารถเข้าเป็นนักศึกษา สร้างสมดุลย์ในการรับนักศึกษาทุกเพศสภาพ
  12. Specialist Criteria การที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเชิงวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งที่โดดเด่นจนสามารถเคลมสเตตัส "ระดับโลก"

 จะเห็นว่า Rating ทำให้ Ranking สมบูรณ์ขึ้นในรายละเอียด ในการจะ define ว่ามหาวิทยาลัยไหนควรค่าแก่การพิจารณาเลือกเข้าศึกษาต่อ

Visitors: 154,822