หลักสูตร NCEA

  

NCEA หรือชื่อเต็มๆ ว่า National Certificate of Educational Achievement เป็นคุณวุฒิสำหรับนักเรียนมัธยมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรระดับใดระดับหนึ่งใน 3 ระดับ คือ Level 1, Level 2 และ Level 3 จากโรงเรียนมัธยมในนิวซีแลนด์ เป็นคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ผ่านการตรวจสอบ คัดกรองและกำกับมาตรฐานอย่างเข้มข้นโดยหน่วยงานกลางของรัฐที่มีชื่อว่า NZQA - New Zealand Qualifications Authority ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของประเทศนิวซีแลนด์

 

นักเรียนนานาชาติที่สำเร็จหลักสูตรมัธยมปลายและได้รับประกาศนียบัตร NCEA สามารถใช้ประกาศนียบัตร NCEA เพื่อศึกษาต่อทั้งในประเทศนิวซีแลนด์และประเทศอื่นๆ 

 

โดยปกตินักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตร NCEA Level 1 เมื่อเรียนสำเร็จ Year 11, Level 2 เมื่อเรียนสำเร็จ Year 12 และ Level 3 เมื่อเรียนสำเร็จ Year 13

NCEA เป็นระบบการศึกษาที่ทันสมัยทั้งเนื้อหาและการจัดการ ได้รับการปรับให้มีเนื้อหาการเรียนที่สอดคล้องกับสถานการณ์และโลกยุคใหม่ มีกรอบการวัดผลที่ชัดเจนแต่ยืดหยุ่น และสามารถกำหนดให้เป็นส่วนตัวได้ตามความสามารถและความสนใจของนักเรียนแต่ละคน นักเรียนคนหนึ่งๆอาจเรียนวิชาหนึ่งวิชาใดในเลเวลหนึ่ง และเรียนอีกวิชาหนึ่งในอีกเลเวลหนึ่งก็ได้ หากผู้สอนเห็นว่านักเรียนมีศักยภาพในวิชานั้นเกินกว่าเลเวลหลักที่ตนเองสังกัด 

 

ในแต่ละปี นักเรียนสามารถเลือกเรียนวิชาต่างๆจำนวนกว่า 40 วิชา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่นั้นเปิดสอนวิชาอะไรบ้าง นักเรียนจึงควรพิจารณาเลือกเรียนในโรงเรียนที่มีวิชาเรียนที่จะตอบโจทย์ของตน ทั้งเพื่อการเรียนต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต

 

ประกาศนียบัตร NCEA อนุญาตให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรในการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสำหรับความต้องการของนักเรียน นักเรียนจะได้รับการทดสอบหรือประเมินสองลักษณะ ทั้งที่เป็นการประเมินผลภายใน (Internal Assessment) ตามที่แต่ละโรงเรียนจะกำหนดและให้คะแนน และที่เป็นการประเมินผลภายนอก (External Assessment) ซึ่งเป็นการสอบปลายปีที่ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบโดย NZQA 

 

NCEA จำแนกเกรดที่นักเรียนมีสิทธิ์จะได้ออกเป็น 4 แบบด้วยกัน  

  • N  ไม่ผ่าน  (Not Achieved)
  • A  ผ่าน     (Achieved)
  • M  ผ่านด้วยคะแนนดี  (Merit)
  • E   ผ่านด้วยคะแนนดีเยี่ยม   (Excellence)

 

M-Merit และ E-Excellence เป็นเกรดพิเศษ (Endorsement) ที่แสดงให้เห็นว่าระบบ NCEA จดจำและยกย่องผู้ที่มีผลการเรียนดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนที่ได้ M หรือ E เกินกว่า 14 เครดิตจากวิชาใดวิชาหนึ่ง จะได้รับประกาศบัตรพิเศษที่เรียกว่า Endorsement Certificate นอกเหนือจากประกาศนียบัตร NCEA Certificate ประจำเลเวล ซึ่งจะได้อยู่แล้วเมื่อเก็บเครดิตได้ครบตามจำนวนขั้นต่ำที่ทาง NZQA กำหนด


การเก็บเครดิตในระบบ NCEA มีข้อดี การแบ่งวิชาออกเป็นหัวข้อย่อยหลายๆหมวด ทำให้ทั้งนักเรียนและผู้สอนสามารถจะทราบได้ชัดเจนว่านักเรียนอ่อนเรื่องไหนและเก่งเรื่องไหนในวิชานั้น ๆ  และการได้คะแนน "ไม่ผ่าน" ในหน่วยการเรียนใดหน่วยการเรียนหนึ่ง ก็ไม่ได้ทำให้นักเรียน "สอบตก" วิชานั้น หากนักเรียนยังสามารถได้เกรด "ผ่าน" จากหน่วยการเรียนอื่นในวิชาเดียวกัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็แค่นักเรียนเก็บเครดิตได้ "น้อยกว่า" ที่ควรจะเป็นเท่านั้น 

 

อย่างไรก็ตาม NZQA กำหนดเกณฑ์การได้ NCEA Certificate ค่อนข้างเข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่เรียนในเยียร์ 11 เพื่อจะได้ NCEA Certificate Level 1 จะต้องสอบและเก็บเครดิตให้ได้เกินกว่า 80 เครดิต จากจำนวนเครดิตที่เรียนทั้งหมด 120-130 เครดิต ในจำนวนนี้จะต้องเป็นเครดิตที่ "เกี่ยวกับการนับ" 10 เครดิต และ "เกี่ยวกับภาษา" 10 เครดิตเป็นอย่างน้อย จึงจะมีสิทธิ์ได้รับประกาศนียบัตรเลเวล 1

 

นิวซีแลนด์ไม่เชื่อในระบบ "ห้ามซ้ำชั้น" หรือ "ห้ามตก" ดังนั้นแต่ละปีจะมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ "ไม่จบ" และ "ไม่ได้ประกาศนียบัตร" และฉะนั้นการที่นักเรียน "ผ่านแบบได้รับประกาศนียบัตร" จึงนำมาซึ่งตัวเลข NCEA Pass Rate ที่แข่งขันกันในแต่ละโรงเรียน ว่าโรงเรียนไหนจะผ่านเยอะกว่า โรงเรียนที่มีอัตรา Pass rate สูงกว่า ก็จะได้รับการยอมรับว่ามีวิชาการแข็งกว่าโรงเรียนที่มีอัตรา Pass rate น้อยกว่า โดยเกณฑ์ของ National อยู่ที่ประมาณ 83% นอกจากนั้นการเปรียบเทียบยังนิยมเปรียบเทียบกันในระหว่างโรงเรียนที่มีค่าเดไซล์เท่ากัน (มีต้นทุนการดำเนินการพอๆกันและมี demographic นักเรียนที่ใกล้เคียงกัน) 

 

ความแตกต่างระหว่าง NCEA กับ Cambridge

หลักสูตร NCEA

  • เริ่มใช้ในปี 2002
  • แตกเนื้อหาของแต่ละรายวิชาออกมาเป็นหน่วยการเรียนย่อยหลายๆหน่วยการเรียน เพื่อประเมินและวัดทักษะของนักเรียนเฉพาะในหน่วยการเรียนนั้นๆ 
  • เกรดที่ได้มี Acheived, Merit และ Excellence
  • การประเมินผลทำทั้งจากภายใน (รร.จัดสอบ/ให้ส่งงาน) และภายนอก (สอบข้อสอบกลาง)
  • 3 ระดับ วัดผลในชั้นเยียร์ 11, 12 และ 13
  • ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานสูง 
  • นักเรียนที่มีผลการเรียนโดดเด่นได้รับการจดจำและได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูความสามารถในวิชานั้นๆ เป็นพิเศษ
  • นักเรียนสามารถสมัครสอบเพื่อชิงทุนการศึกษาสำหรับศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

 

หลักสูตร Cambridge

  • บริหารหลักสูตรโดย Cambridge International Examinations ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
  • หลักสูตรที่ใช้คือ GCSE และ International A Level และ AS Level 
  • วัดผลการเรียนด้วยการสอบปลายปี แต่ก็มีบ้างบางวิชาที่วัดผลเป็นการภายใน 
  • CIE เป็นการสอบวัดผลที่มีนักเรียนทั่วโลกจาก 170 ประเทศ จำนวนกว่า 2 ล้านคนเข้าร่วมในแต่ละปี 
  • ในนิวซีแลนด์ มีโรงเรียนกว่า 60 แห่ง ที่สอนหลักสูตรเคมบริดจ์ ทั้งที่เป็นโรงเรียนเคมบริดจ์เต็มรูป และโรงเรียนที่สอน NCEA ควบคู่ไปกับ Cambridge หรือ/และ IB

 

บางความเห็นเกี่ยวกับสองหลักสูตรนี้ 

"NCEA is about equipping young people for lifelong learning and has the flexibility to cater for every student and for all career pathways, NCEA เป็นระบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับให้เข้ากันได้กับนักเรียนทุกคน ให้ไปได้สำหรับทุกทางเลือกในการประกอบอาชีพ"
Education Minister Hekia Parata รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เฮเคีย พาราท่า

 

"NCEA is good for those who want more support in teaching and learning, and more flexibility. If students want the competitive environment and greater rigour and a less minced form of assessment, then they will choose Cambridge. NCEA เป็นระบบที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษทั้งผู้สอนและผู้เรียน มีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบอื่น ถ้าหากนักเรียนต้องการหลักสูตรที่เน้นการแข่งขันและมีการสอบย่อยและประเมินผลแบบไม่ยิบย่อยแยกลงในแต่ละเนื้อหามากเกิน  นักเรียนคนนั้นก็น่าจะเหมาะกับระบบเคมบริดจ์มากกว่า"
Avondale College's Brent Lewis เบรนท์ ลูอิส แห่งเอวอนเดล คอลเลจ

 

ตัวอย่าง Achievement Standards (AS) และ Unit Standards(US)  วิชา Math ในระบบ NCEA ซึ่งเอื้อให้โรงเรียนสามารถเลือก 5-8 หน่วยการเรียนที่เหมาะกับปริบทของนักเรียน นักเรียนที่อ่อนเลขจะเรียน Math แบบไม่ยากมาก (เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ - นักเรียนกลุ่มนี้จบไปบางทีก็ไปต่อสายวิชาชีพหรือสายที่ไม่ได้ต้องใช้ Math เยอะในการเรียน) ในขณะที่นักเรียนที่เก่งวิชานี้ จะได้รับการจัดให้เรียน Math ในห้องที่มี AS ที่ยากกว่า (ท้าทายความสามารถ ไม่น่าเบื่อ และมีโอกาสได้เกรด A, M หรือ E เพื่อจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในคณะที่ต้องใช้ Math Skills ขั้นสูง)  นักเรียนหนึ่งคนจะเรียนอย่างมาก 5-6  standards ในหนึ่งรายวิชาและโรงเรียนมีสิทธิ์เลือก Internal Standards ได้เองว่าจะสอน Standards ไหน และไม่สอน Standards ไหน โดย NZQA เป็นผู้กำหนด Standards มาตรฐาน แนวทางการสอน แนวทางการให้การบ้าน  แนวทางการให้คะแนน แนวข้อสอบ Internal ให้ สำหรับ External Standard เด็กที่เรียนเลเวลเดียวกันจะเรียนเหมือนกันทั่วประเทศ และต้องสอบข้อสอบของ NZQA พร้อมกันทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เช่น ทุกคนที่เรียน Math Level 1 จะเรียน External Standards เดียวกันทั่วประเทศ และมีกำหนดสอบ External วิชา Math ในวันที่ 10 พ.ย. เวลา 9.00-12.00 น. เป็นต้น โดยข้อสอบจะถูกส่งไปตรวจที่เวลลิงตัน และให้คะแนนโดยคณะกรรมการกลาง

 

บน: ตารางแสดงรายวิชาว่าวิชาไหนเป็น Internal / External หรือเป็น Literacy / Numeracy ซึ่งทางเอเจนซี่จะสามารถช่วยตรวจสอบให้ได้เพื่อให้ลูกลงทะเบียนเรียนได้อย่างมั่นใจ

 

การเก็บคะแนนในระบบ NCEA (สำหรับนักเรียน Year 11, 12 และ 13) มีสองลักษณะ

1. Internal Assessment สอบเก็บคะแนนระหว่างภาค หรือทำงานส่ง เป็นการประเมินผลที่ทางโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ

2. External Assessment สอบปลายปี เป็นข้อสอบอัตนัย (เติมคำและแสดงวิธีทำหรือเขียนอธิบายทั้งหมด) จัดสอบในช่วงปลายปี ประมาณวันที่ 10 พ.ย. – 2 ธ.ค. ของทุกปี โดยสอบเป็นรายวิชา วิชาละ 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับว่านักเรียนเลือกเรียนวิชาอะไร และรายวิชาที่เลือกเรียนนั้น เมื่อทางโรงเรียนจัดสอน ได้บรรจุหน่วยการเรียนย่อยที่จำเป็นต้องใช้วิธีสอบเป็น External Assessment หรือไม่ เช็คได้จากอาจารย์ผู้สอนเมื่อเริ่มเรียน

นอกจากนั้นโรงเรียนอาจยังมีการซ้อมสอบที่เรียกว่า Formative Assessment สำหรับให้นักเรียนทดลองทำข้อสอบ เพื่อจะประเมินจุดอ่อนจุดแข็ง และเพื่อจะทราบคร่าวๆ ว่านักเรียนมีแนวโน้มจะผ่านการสอบ External ใน Standard นี้หรือเปล่า ซึ่งหากนักเรียนได้ Formative Assessment เป็น Not Achieved เป็นส่วนใหญ่ อาจารย์ผู้สอนจะได้เปลี่ยนแนวมา “อัด” Internal Assessment ให้เยอะๆ และไม่แนะนำให้สอบ External ก็เป็นได้

หรือนักเรียนอาจเลือกที่จะถอนการเรียนวิชานั้น แล้วไปลงเรียนวิชาอื่นๆที่ยังมีที่ว่างอยู่และลงตารางสอนได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเก็บเครดิต

 

Read more about NCEA at : http://www.nzqa.govt.nz

 
การเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บเครดิตในชั้นเลเวล 1 ในปี 2024 
ซึ่งมีผลต่อเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาเลเวล 1, 2 และ 3 ในหลักสูตร NCEA 
ปรับปรุงล่าสุด : 24/09/2023

 


 สรุปการเปลี่ยนแปลงวิธีเก็บเครดิตในระบบ NCEA ตั้งแต่เดือน มกราคม 2567 (January 2024) เป็นต้นไป

  • NCEA Level 1, 2 และ 3 ระบบใหม่ จะกำหนดว่า เพื่อจะสำเร็จการศึกษา NCEA Level 1, 2 และ 3 นักเรียนจะต้องเก็บเครดิตได้ 60 เครดิตขึ้นไป  
  • โดยแยกการวัดผล Literacy 10 credits (ความสามารถทางด้านการใช้ภาษา) และ Numeracy 10 credits (ความสามารถในการคำนวณ) ออกต่างหากจากเกณฑ์สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับ (ทำให้ถึงยังไม่ได้ Lit & Num แต่ยังเลื่อนขึ้นชั้นไปเรียนระดับที่สูงกว่าได้ "พลางๆ")
  • ระบบใหม่ที่แยก Lit & Num ออกไป และให้มีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้นนี้เรียกว่า Co-requisite
  • ซึ่งทำให้สามารถเก็บ Literacy Credits 10 เครดิต และ Numeracy Credits 10 เครดิต ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเรียนอยู่เลเวลไหน โดยจะให้เริ่มเก็บได้ตั้งแต่เยียร์ 9 หรือ เยียร์ 10 เป็นต้นไป
  • นักเรียนจะเก็บเครดิต Co-requisite เพียงชุดเดียวเท่านั้นเพื่อจะใช้เป็นวุฒิจบ ได้รับ NCEA Qualification (แต่สอบได้หลายครั้ง กี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะผ่าน) 
  • Lit  อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิชาอื่นๆที่เก็บ Literacy Credits ได้ เช่น History (Language Rich)
  • Num อาจจะมาจากวิชาเลข,วิทยาศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ ที่มีการคำนวณเป็นส่วนประกอบของรายวิชา

 

อธิบายความต่างกับระบบเก่า

การเปลี่ยนแปลงวิธีนับเครดิตสำหรับการเรียนทั้งสามเลเวลในหลักสูตร NCEA  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2024 เป็นต้นไป  การเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับการส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2020 โดยได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น 7 ประการ อ่านเพิ่มเติม

 

เลเวล เกณฑ์การได้วุฒิ NCEA เลเวลต่างๆ ก่อนปี 2024 เกณฑ์การได้วุฒิ NCEA ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป

แยก Lit & Num ออกมา

เรียกว่า Co-requisite

Level 1

Total 80 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวล 1 หรือสูงกว่า + 20 เครดิตจากวิชาเลเวลใดก็ได้

โดยต้องมีเครดิต Numeracy & Literacy จากวิชาเลเวล 1 รวมอยู่ด้วย

Total 60 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวลใดก็ได้ (1,2 หรือ 3)

 

ได้เครดิตครบตามด้านซ้าย

บวก 20 Co-requisite เครดิต

ซึ่งจะเก็บในปีใดก็ได้

สอบกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะผ่าน

ระหว่างการเรียน High School

ตั้งแต่ชั้นเยียร์ 10 ขึ้นไป

Level 2

Total 80 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวล 2 หรือสูงกว่า + 20 เครดิตจากวิชาเลเวลใดก็ได้

โดยต้องมีเครดิต Numeracy & Literacy จากวิชาเลเวล 1 รวมอยู่ด้วย

Total 60 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวล 2 หรือสูงกว่าเลเวล 2

 

ได้เครดิตครบตามด้านซ้าย

บวก 20 Co-requisite เครดิต

ซึ่งจะเก็บในปีใดก็ได้

สอบกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะผ่าน

ระหว่างการเรียน High School

ตั้งแต่ชั้นเยียร์ 10 ขึ้นไป

Level 3

Total 80 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวล 3 หรือสูงกว่า + 20 เครดิตจากวิชาเลเวล 2 หรือสูงกว่า

โดยต้องมีเครดิต Numeracy & Literacy จากวิชาเลเวล 1 รวมอยู่ด้วย

Total 60 เครดิต

60 เครดิตจากวิชาเลเวล 3 หรือสูงกว่าเลเวล 3

 

ได้เครดิตครบตามด้านซ้าย

บวก 20 Co-requisite เครดิต

ซึ่งจะเก็บในปีใดก็ได้

สอบกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะผ่าน

ระหว่างการเรียน High School

ตั้งแต่ชั้นเยียร์ 10 ขึ้นไป


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเรื่องของ Co-requisite credit

  • เกณฑ์จบแบบใหม่จะรวมการได้ Co-requisite Credits ซึ่ง 'Sitting alongside'  (ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การจบการศึกษา Level 1, 2 หรือ 3 อีกต่อไป)
  • Co-requisite สามารถเก็บได้ตั้งแต่อยู่เยียร์ 9 (in some situation) หรือ เยียร์ 10 (Ideal level) หรือจะเก็บในช่วงเยียร์ 11, 12, 13 ก็ได้ "เพียงหนึ่งครั้ง" (One-Off) แล้วไม่ต้องเก็บอีกจนจบ Year 12 หรือ Year 13

 

ในส่วนของนักเรียนอินเตอร์ 

  1. นี่จะแปลว่าถ้าไม่ได้ไปเริ่มเรียนตอนเยียร์ 11 ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเก็บ Lit & Num ไม่ได้
  2. เพราะเก็บได้ตลอดไม่ว่าจะไปเริ่มเรียนตอนเยียร์ 12 หรือ 13 (แต่ในทางปฏิบัติ โรงเรียนจะไม่รับเข้าเรียนเยียร์ 13 ตรงๆ โดยไม่ผ่านเยียร์ 12 มาก่อน)
  3. การไปเริ่มเรียนในเยียร์ 9 หรือช้าสุดไม่เกินเยียร์ 10 จะทำให้สามารถเก็บเครดิต Co-requisite ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และพอขึ้นซีเนียร์เยียร์ (11-13)  สามารถโฟกัสกับการเรียนวิชาของเลเวล 1, 2, 3 ได้เต็มที่ ไม่ต้องพะวงอีกว่าจะได้ Lit & Num ครบหรือเปล่า

 


 Questions and Answers

Learners can achieve the co-requisite at any time during their NCEA years. For some, this may be as early as Year 9; for many, the most natural point is likely to be in Year 10.

Once a learner has achieved the 20 credits they do not have to undertake the co-requisite again. It is a ‘one-off’ requirement.


Learners can achieve the co-requisite using either the co-requisite standards, credits from the additional assessment standards, or a mixture of both. Whatever combination of standards they use, students must achieve 10 literacy-rich and 10 numeracy-rich credits.

 

There is no limit on the number of attempts. Making sure learners are entered for the assessment when they are ready to be assessed is a key aspect of the adjustment to the NCEA co-requisite.

Visitors: 154,096