วิชาที่เปิดสอนในระดับมัธยม

 

นักเรียนที่เรียนในชั้นมัธยมต้น (Year 9-10) จะมีวิชาเรียน 8 วิชาต่อเทอม โดยเป็นวิชาบังคับ 6 วิชา และวิชาเลือก 2 วิชา ปีละ 4 วิชา แบ่งเรียนวิชาละครึ่งปี โดยเน้นให้นักเรียนได้เรียนแบบกว้างๆ เพื่อจะค้นหาตัวเองว่าชอบไปทางไหน

ส่วนนักเรียนระดับมัธยมปลาย (Year 11-13) จะเรียนให้รู้ลึกและจะเลือกวิชาที่ตนเองสนใจเรียนจริงๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป วิชาเรียนในชั้นปีเหล่านี้จะเหลือเพียง 5 วิชา (มาตรฐานนักเรียนทั่วไป) หรือ 6 วิชาเป็นอย่างมากสำหรับนักเรียนที่เก่งจริงๆ โดยนักเรียนที่ผลการเรียนปานกลางส่วนใหญ่จะได้รับอนุญาตให้เลือกเรียนเพียง 5 วิชา ซึ่งวิชาเหล่านี้เรียกรวมว่าวิชา "Mainstream"

นักเรียนอินเตอร์อาจมีคาบเรียนพิเศษที่เรียกว่า ESOL ซึ่งก็คือ English for Speakers of Other Language เป็นคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะสำหรับนักเรียนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งนักเรียนต่างชาติเข้าใหม่อาจเรียน ESOL 4-8 คาบต่อสัปดาห์ โดยทางโรงเรียนจะค่อยๆถอน ESOL ออกทีละคาบและเพิ่มวิชา Mainstream เข้าไปให้นักเรียนเมื่อนักเรียนแสดงว่ามีความพร้อมทางภาษามากขึ้นพอที่จะเข้าใจบทเรียนใน Mainstream Classroom ได้

นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมนักเรียนไทยจึงควรไปเริ่มการเรียนที่นิวซีแลนด์ในระดับมัธยมต้น (Intermediate Year 7-8) หรือมัธยมปลายตอนต้น (Year 9-10) เนื่องจากทักษะภาษาที่นักเรียนจะฝึกได้ใน 1-2 ปีแรก จะส่งผลให้นักเรียนเป็นเด็กเรียนเก่งหรือเรียนอ่อนเมื่อก้าวขึ้นไปเรียนในระดับมัธยมปลายซีเนียร์เยียร์ (Year 11-13) ซึ่งเป็นสามปีที่มีการสอบวัดผลระดับชาติด้วยข้อสอบชุดเดียวกันทั่วประเทศ

  • นักเรียนที่ไปเรียนแต่เนิ่นๆ พอถึงชั้น Year 11-12 จะไม่ต้องเรียน ESOL แล้ว สามารถเรียนเคียงบ่าเคียงไหล่นักเรียนนิวซีแลนด์ได้แบบเท่าเทียม
  • ในขณะที่นักเรียนที่ไปเริ่มช้าตอนอายุ 15-17 ปีและไปเริ่มเรียนใน Year 11-12 ทันที ทำให้ไม่ทันมีเวลาปูพื้นภาษา (ยกเว้นจะยอมเรียนกับรุ่นน้องใน Year 10)
  • นักเรียนที่ไปเริ่มช้าเหล่านี้ เนื่องจากภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารยังไม่เข้าที่ ก็จะต้องเรียน ESOL เยอะคาบ ทำให้ไม่ได้เรียนวิชา Mainstream แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย และอาจพลาดโอกาสในการเรียนวิชาที่ชอบ เพราะวิชานั้นใช้ภาษาเยอะกว่าระดับภาษาที่นักเรียนจะสามารถเรียนได้ดี
  • ซึ่งจะส่งผลให้เรียนตามเพื่อนไม่ทัน หรือต้องเรียนและเก็บเครดิตจาก Standard และวิชาง่ายๆ (ไม่ได้ความรู้เท่าที่ควร)
  • ทำให้อาจไม่สามารถเก็บเครดิตการเรียนได้ทันหรือได้มากพอที่จะเทียบวุฒิ หรือได้เครดิตแบบผ่าน -Achieved เฉยๆ โดยไม่มี Endorsement อย่าง Merit หรือ Excellent ติดมาเลย และซึ่งทำให้ก็จะไม่มีโอกาสได้ GPA สวยๆ เมื่อจบการศึกษา
  • และอาจทำให้พลาดโอกาสศึกษาต่อในคณะอินเตอร์ที่ตนต้องการกลับมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยไทยไปอย่างน่าเสียดาย (ปัจจุบันหลายคณะระบุ GPA ขั้นต่ำ และ A- Achieved เทียบได้กับเกรด 2.0 เท่านั้น) 

รายชื่อวิชาที่เปิดสอนในระดับมัธยมของนิวซีแลนด์  

นิวซีแลนด์แบ่งรายวิชาที่สอนในโรงเรียนมัธยมออกเป็น 8 หมวดวิชา 

  • Language  ภาษาศาสตร์ 
  • Mathematics คณิตศาสตร์ 
  • Science วิทยาศาสตร์
  • Technology เทคโนโลยี
  • Visual and Performing Arts ศิลปะและศิลปะการแสดง
  • Social Sciences  สังคมศาสตร์
  • Health & Physical Education  สุขศึกษาและพลศึกษา
  • Other Subjects วิชาอื่นๆ 


ในปี 2020 มีวิชาที่เปิดสอนในระดับมัธยม 99 วิชา โดยวิชาหลักๆ ที่นักเรียนนานาชาติเลือกเรียนจะมีตามที่ปรากฎด้านล่างนี้

หมายเหตุ: บางวิชาไม่ได้เอามาลงในนี้เพราะเป็นวิชาจำเพาะชาติพันธุ์ที่คาดว่านักเรียนอินเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเรียน เช่น วิชาภาษาเมารี วิชาภาษามือ วิชาภาษาถื่นอื่นๆ ที่ใช้กันในแถบ South Pacific

 

 
  • วิชาเหล่านี้ เป็นรายวิชาหลักของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (Year 11-13) และเป็นวิชาที่ผ่านการอนุมัติหลักสูตรจาก NZQA แล้วทั้งหมด
 
  • วิชาส่วนใหญ่เป็นรายวิชาที่สามารถใช้ในการรับเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ได้ ตามเกณฑ์การสอบผ่านที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะใช้กำหนด
 
  • นอกจากวิชาหลักซึ่งเป็นวิชาบังคับ คือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ วิชาที่เหลือทั้งหมดเป็นวิชาเลือก (Option Subjects)
 
  • โรงเรียนแต่ละแห่งมีสิทธิ์ที่จะเลือกสอนรายวิชาที่มีผู้สนใจเรียนและมีอาจารย์สอน โดยจำนวนวิชาที่โรงเรียนเปิดสอนจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เรียน, มีอาจารย์สอนหรือไม่, มีห้องเรียนพอหรือไม่ หรือขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนในแต่ละระดับชั้น
 
  • โรงเรียนที่มีจำนวนผู้เรียนบางวิชาน้อย หรือไม่มีผู้สอนในรายวิชาบางวิชา อาจพ่วงการเรียนวิชานั้นๆ กับโรงเรียนอื่นในละแวกเดียวกัน เพื่อจัดหาครูผู้สอนร่วมกันและจัดให้นักเรียนเข้าเรียนพร้อมกันผ่านระบบ Teleconference จากแต่ละโรงเรียนที่ตนสังกัด
 
  • เท่าที่พบมา ยังไม่มีโรงเรียนใดในนิวซีแลนด์เปิดสอนครบทุกรายวิชา
 
  • การเลือกโรงเรียน นอกจากจะดูหน้าตาโรงเรียนและราคาแล้ว จึงต้องดูด้วยว่า โรงเรียนนั้นมีวิชาอะไรให้เลือกเรียนบ้าง โดยพิจารณาจากรายวิชาที่เปิดให้เรียนได้ใน Senior Years คือ Year 11-13 

 

20 Most Popular High School Subjects รายวิชาที่มีนักเรียนลงทะเบียนเรียนเยอะที่สุด 20 อันดับแรก 
ตัวเลขด้านหลังคือจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นๆ ในปี 2020  
โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้น Year 9 - Year 13 (5 ชั้นปี) ทั่วประเทศ 

 
  • Biology (33,869)
  • Chemistry (28,608) 
  • Drama (28,599)
  • English (241,430)
  • Food Technology (36425)
  • Health (40,901)
  • Health and Physical Education (65,484)
  • History (30,405)
  • Life skills/Personal development (37,595)
  • Materials Technology (31,637)
  • Mathematics (206,995)
  • Mathematics with Statistics (28,248)
  • Music / Music Studies (34,795)
  • Physical Education (105,359)
  • Physics (28,614)
  • Religious Education (37,703)
  • Science (163,243)
  • Social Studies (109,900)
  • Technology (32,566)
  • Visual Arts (36,705)

การเลือกวิชาเรียนในระดับมัธยมให้สอดคล้องกับแผนการเรียนระดับอุดมศึกษา 
 
ที่นิวซีแลนด์ไม่มีการสอบ ONET, GAT, PAT 

การเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์จะใช้ผลสอบ NCEA ที่นักเรียนเรียนในระดับมัธยมเป็นตัวตัดสินว่านักเรียนมีคุณสมบัติที่จะเข้าเรียนในคณะต่างๆ หรือไม่ โดยคะแนนตัวนี้เรียกว่า UE (University Entrance) ที่นักเรียนจะทำได้ในการเรียนปีสุดท้าย คือ Year 13 
 
นักเรียนนานาชาติที่ที่จบมัธยมชั้น Year 12 ในนิวซีแลนด์ จะมีทางเลือก 4 ทางหลักๆ คือ 

1. เรียนต่อสายสามัญ โดยการขึ้นชั้นเยียร์ 13 โรงเรียนเดิมหรือโรงเรียนใหม่ก็ได้ เพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์  

2. ออกไปเรียนต่อสายวิชาชีพ ซึ่งเปิดสอนใน Institute of Technology หรือ Polytechnic ในระดับ Certificate Level 3, 4  เช่น Cookery, Hospitality, Tourism

3. เปลี่ยนไปเรียนหลักสูตร Foundation เพื่อเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หรืออังกฤษ  ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบปริญญาตรี 3 ปี  

4. ย้ายไปเรียนต่อประเทศที่ต้องการเพียงวุฒิ Year 12 (เทียบเท่า ม.6) ในการสมัครเข้าเรียนต่อหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (ไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน) 
 
เนื่องจากไม่มี ONET, GAT, PAT มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์จะให้ความสำคัญกับคะแนน/เกรด/จำนวนเครดิตที่ทำได้ในช่วงเรียนมัธยมปีสุดท้าย (Year 13)  ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยจะกำหนดจำนวนเครดิตขั้นต่ำ 3 วิชาใน Level 3 และอาจระบุเงื่อนไขพิเศษสำหรับแต่ละคณะ (มี Pre-requisite) ว่านอกเหนือจาก UE แล้วนักเรียนจะต้องได้เครดิตจากวิชาอะไรและ Standard ไหนบ้าง  ซึ่งส่วนนี้อาจมีผลให้นักเรียนสามารถ/ไม่สามารถเลือกเรียนบางคณะในมหาวิทยาลัย หากไม่ได้เรียนวิชานั้นๆมา หรือได้เครดิตวิชาบังคับไม่ครบตามที่กำหนด 
 
 
List of Recommended High School Subjects
 
เพื่อเตรียมตัวนักเรียนตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี List of Recommended High School Subjects ให้นักเรียนมัธยมดูเป็นแนวทาง ซึ่งแผนกแนะแนวของแต่ละโรงเรียนมัธยมจะคุยเรื่องนี้กับเด็กๆ ตั้งแต่ชั้น Year 10 เพื่อเป็นแนวทางการเลือกเรียนในระดับ Level 1 (Year 11) ซึ่งจะมีผลกับการเลือกวิชาเรียนในระดับ Level 2 (Year 12) และ Level 3 (Year 13) เนื่องจากบางวิชามี Pre-requisite คือต้องเรียนวิชานั้นๆ มาตั้งแต่ Level 1 หรือ 2 เพื่อจะลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้นๆ ใน Level 3 ได้ 
 
การเลือกเรียนวิชาที่สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต จะทำให้เด็กไม่ต้องเสียเวลากับวิชาที่จะไม่ได้เอามาใช้ในอนาคต 
 
ท่านสามารถดู List of Recommended High School Subjects ของแต่ละมหาวิทยาลัย  ได้จาก tab เมนูด้านบน 

**ลิ้งค์ของมหาวิทยาลัย AUT มี Career Tool ให้สำรวจความถนัดของนักเรียน**
เมื่อพอได้แนวทางแล้ว ว่านักเรียนถนัดหรือชอบไปทางไหน ก็จะมีข้อมูลพอที่จะเลือกโรงเรียนมัธยมที่มีรายวิชาตรงกับความถนัดหรือความชอบ หรือที่จะนำไปสู่การเรียนคณะมุ่งหวังในมหาวิทยาลัย 
Visitors: 154,127